ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
"มาตรา ๗ ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี
ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อยชั่วคราว ขังหรือจำคุกแก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล ในคดีที่นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541
ป.วิ.อ. มาตรา 7, 120
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี คำว่า “ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคล” ตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมาย เช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลย ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่า บริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญานี้ได้
ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2530
ป.พ.พ. มาตรา 76
ป.วิ.อ. มาตรา 192
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522
นมข้นหวานที่จำเลยผลิตขึ้นมีจุลินทรีย์หรือบักเตรี เกินกว่าจำนวนตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นอาหารที่ผลิตขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐาน ส่วนจะถึงขั้นเป็นอาหารปลอมหรือไม่ ต้องเป็นอาหารที่ทำให้เกิดโทษหรือเป็นอันตราย จุลินทรีย์หรือบักเตรีนั้นมีทั้งชนิดที่ทำให้เกิดโทษและชนิดที่ไม่เป็นโทษ
เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่า การมีจุลินทรีย์หรือบักเตรีเกินจำนวนที่ระบุไว้เป็นโทษหรือเป็นอันตราย นมข้นหวานดังกล่าวจึงมิใช่อาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25 (2) ประกอบด้วยมาตรา 27 (5) แต่การมีจุลินทรีย์หรือบักเตรีเกินจำนวนดังกล่าวเป็นอาหารผิดมาตรฐานตามมาตรา 25 (3) ประกอบด้วยมาตรา 28 ศาลจึงมีอำนาจลงโทษฐานนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 เพราะเป็นบทที่มีโทษเบากว่าที่โจทก์ฟ้อง
จำเลยที่ 2 รับว่าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2523 และเป็นตลอดมาจนเกิดเหตุคดีนี้ เห็นว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเท่านั้นดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องกระทำโดยผู้แทนจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริษัทจำเลยที่ 1 กระทำผิด ก็ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2517
ป.อ. มาตรา 83
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
ป.พ.พ. มาตรา 75
บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงชื่อแทนจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ค สั่งจ่ายเงินหนึ่งหมื่นบาทในนามของจำเลยที่ 1 มอบให้โจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1
การดำเนินกิจการของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เซ็นเช็คสั่งจ่ายเงินโดยเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค อันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ และมีความผิดฐานเป็นตัวการด้วย
"มาตรา ๗ ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี
ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อยชั่วคราว ขังหรือจำคุกแก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล ในคดีที่นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541
ป.วิ.อ. มาตรา 7, 120
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี คำว่า “ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคล” ตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมาย เช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลย ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่า บริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญานี้ได้
ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2530
ป.พ.พ. มาตรา 76
ป.วิ.อ. มาตรา 192
พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522
นมข้นหวานที่จำเลยผลิตขึ้นมีจุลินทรีย์หรือบักเตรี เกินกว่าจำนวนตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นอาหารที่ผลิตขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐาน ส่วนจะถึงขั้นเป็นอาหารปลอมหรือไม่ ต้องเป็นอาหารที่ทำให้เกิดโทษหรือเป็นอันตราย จุลินทรีย์หรือบักเตรีนั้นมีทั้งชนิดที่ทำให้เกิดโทษและชนิดที่ไม่เป็นโทษ
เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่า การมีจุลินทรีย์หรือบักเตรีเกินจำนวนที่ระบุไว้เป็นโทษหรือเป็นอันตราย นมข้นหวานดังกล่าวจึงมิใช่อาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25 (2) ประกอบด้วยมาตรา 27 (5) แต่การมีจุลินทรีย์หรือบักเตรีเกินจำนวนดังกล่าวเป็นอาหารผิดมาตรฐานตามมาตรา 25 (3) ประกอบด้วยมาตรา 28 ศาลจึงมีอำนาจลงโทษฐานนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 เพราะเป็นบทที่มีโทษเบากว่าที่โจทก์ฟ้อง
จำเลยที่ 2 รับว่าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2523 และเป็นตลอดมาจนเกิดเหตุคดีนี้ เห็นว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมุติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเท่านั้นดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องกระทำโดยผู้แทนจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริษัทจำเลยที่ 1 กระทำผิด ก็ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2517
ป.อ. มาตรา 83
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
ป.พ.พ. มาตรา 75
บริษัทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงชื่อแทนจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ค สั่งจ่ายเงินหนึ่งหมื่นบาทในนามของจำเลยที่ 1 มอบให้โจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1
การดำเนินกิจการของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เซ็นเช็คสั่งจ่ายเงินโดยเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค อันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ และมีความผิดฐานเป็นตัวการด้วย